สมัครสมาชิกไปยัง กลุ่มเขียนข้าว | ||
อีเมล์: | | |
ดูเอกสารที่เก็บรวบรวมไว้ ที่ groups.google.com |
วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549
สมัครสมาชิกเขียนข้าว
KEEP SILENCE
Keep silence is the practice in Buddhism. It's not strict for everyone to do it. If you are a Buddhist, it no need for you to do. But if you love to practice you can do it.
Keep silence is just the stop speaking depend on your need. You may stop for 1 day, 2 days, 3 days or 1 year if you can !!
Or you just want to do it everyday at some term of time, such as you want to keep silence during the sun set to sun rise (night time). And you can speak during 6 am - 6 pm.... That's your world !!
Keep silence can make you concerned more about yourself because it will make you have more mindful to your daily life.
For me it's a very exciting time when I start to practice it. I can see much more about my mind. It always run away from me to everywhere, everywhere it can go....
When I finished my keep silence practice. It always be the good time for me to start with the daily life with mindfulness.
Anyway, to be a good monk with good practice is very difficult !!
May you try it, the keep silence at your place.... at your home is very okay !!
Phra Chai Waradhammo
P.S. I think perhaps other religion also have THE KEEP SILENCE PRACTICE.... but in another name
Keep silence has in all 3 kinds of Buddhism, Theravada, Mahayana, and Vacharajana (Tibetan Buddhism). It's the special way to get to know yourself more and more. And it's the shortcut to go inside yourself and Buddhism !!
Keep silence is just the stop speaking depend on your need. You may stop for 1 day, 2 days, 3 days or 1 year if you can !!
Or you just want to do it everyday at some term of time, such as you want to keep silence during the sun set to sun rise (night time). And you can speak during 6 am - 6 pm.... That's your world !!
Keep silence can make you concerned more about yourself because it will make you have more mindful to your daily life.
For me it's a very exciting time when I start to practice it. I can see much more about my mind. It always run away from me to everywhere, everywhere it can go....
When I finished my keep silence practice. It always be the good time for me to start with the daily life with mindfulness.
Anyway, to be a good monk with good practice is very difficult !!
May you try it, the keep silence at your place.... at your home is very okay !!
Phra Chai Waradhammo
P.S. I think perhaps other religion also have THE KEEP SILENCE PRACTICE.... but in another name
Keep silence has in all 3 kinds of Buddhism, Theravada, Mahayana, and Vacharajana (Tibetan Buddhism). It's the special way to get to know yourself more and more. And it's the shortcut to go inside yourself and Buddhism !!
วิกฤติโลก ภายใต้โครงสร้างสังคม ชายเป็นใหญ่
เสขิยธรรม ฉบับที่ ๕๑
พระชาย วรธมฺโม
หากแนวคิด “สตรีนิยม” พอจะเป็นองค์ความรู้ประการหนึ่ง และพอจะมีความหมายกับสังคมมนุษย์เรา ที่มีโครงสร้างสังคมผู้ชายเป็นใหญ่อยู่บ้างละก็ ผู้เขียนอยากมองวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกของเราขณะนี้ด้วยแนวคิดสตรีนิยม ๓ ประเด็น
ประเด็นแรก สงครามที่มนุษย์กระทำต่อกันแต่ละครั้ง นับตั้งแต่ครั้งบรรพกาลเป็นต้นมาจนกระทั่งบัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นสงครามเล็ก สงครามใหญ่ สงครามย่อย สงครามกลางเมือง สงครามระหว่างเมือง ไปจนถึงสงครามใหญ่ ๆ อย่างเช่นสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง มาจนถึงเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่นำไปสู่บรรยากาศอันตึงเครียดและเร่าร้อนด้วยความขัดแย้ง และมีทีท่าว่าจะก่อตัวเป็นสงครามใหญ่อยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นสงคราม เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยมีผู้ชายเป็นผู้นำ หรือมีผู้ชายเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นเสียเป็นส่วนมาก อาจจะมีสงครามบางยุคบางสมัยหรือบางเหตุการณ์เท่านั้นที่เกิดขึ้นโดยมีผู้หญิงเป็นผู้นำ แต่ก็พบว่าน้อยครั้งมากที่ผู้หญิงจะออกมาเป็นผู้นำในการทำสงคราม หรือออกมาเป็นผู้ประกาศทำสงครามเสียเอง
ประเด็นที่สอง ในโลกของเราแต่ละประเทศล้วนแล้วแต่ปกครองโดยมีผู้นำเป็นชายแทบทั้งสิ้น การที่แต่ละประเทศมีผู้นำเป็นเพศชาย ใช่หรือไม่ว่า นี่ก็เป็นเหตุปัจจัยอีกข้อหนึ่ง ที่เอื้อให้โลกของเราต้องประสบกับเหตุการณ์และความรุนแรงอยู่เนือง ๆ มาโดยตลอด กรณีนี้หากเราลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าบนโลกของเรามีผู้นำประเทศเป็นเพศหญิงกันหมดทุกประเทศ โลกของเราจะเป็นอย่างไร จะมีสันติสุขมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่ หรือเพียงครึ่งหนึ่งของโลกมีผู้นำประเทศเป็นเพศหญิง เราก็อาจจะได้เห็นความแตกต่างในบรรยากาศแห่งการดำรงอยู่ของมนุษย์อย่างที่เคยเป็นก็เป็นได้ หรือลองคิดง่าย ๆ ดูว่าหากประธานาธิบดีของสหรัฐเป็นผู้หญิงล่ะ วิธีการปฏิบัติกับประเทศอื่น ๆ บนโลกที่ผ่านมาทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันจะมีสภาพอย่างที่ปรากฏอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องการประกาศทำสงครามกับอัฟกานิสถาน จะมีการประกาศทำสงครามอย่างรุนแรงเช่นนี้หรือไม่ การที่ผู้เขียนเสนอเช่นนี้ไม่ได้เสนอขึ้นมาลอย ๆ แต่เสนอขึ้นมาจากฐานคิดที่ว่า เพศหญิงเป็นเพศที่ให้กำเนิดชีวิตที่ต้องมีการอุ้มท้องนาน ๙ เดือน คงมีโอกาสน้อยที่ผู้หญิงจะมีวิธีคิดวิธีแก้ไขปัญหาแบบทำลายล้าง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือคงเป็นไปได้น้อยที่เพศที่ให้กำเนิดชีวิตจะกลายเป็นเพศที่ทำลายชีวิตได้ง่าย ๆ (ประเด็นนี้เป็นคนละประเด็นกับกรณีการทำแท้งของผู้หญิง เพราะเราต้องเข้าใจว่า การทำแท้งของลูกผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุมาจากการจัดระเบียบทางวัฒนธรรมและสังคม ที่มีความเคร่งครัดและเคร่งเครียดต่อผู้หญิงเป็นอย่างมาก โดยที่การจัดระเบียบทางวัฒนธรรมที่มีความเคร่งเครียดและเคร่งครัดต่อผู้หญิงอันนี้เอง ก็มีรากฐานมาจากโครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า การทำแท้งของผู้หญิง ก็เป็นผลพวงที่มีอิทธิพลมาจากทัศนคติที่ยึดถือเอาชายเป็นใหญ่ ไม่ได้มาจากการตัดสินใจของผู้หญิงโดยตรง)
ประเด็นที่สาม โครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่นั่นเอง ที่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของวินาศกรรมและความรุนแรงที่ตามมาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเรื่องการประกาศทำสงคราม การประกาศใช้ความรุนแรงเข้ายุติเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศใดประเทศหนึ่ง การประกาศเข้าร่วมทำสงครามกับประเทศมหาอำนาจ โดยที่ประเทศที่ประกาศเข้าร่วมทำสงครามนั้นต่างก็มีผู้นำเป็นเพศชายด้วยกันทั้งสิ้น และก็แน่นอนว่ามีประชาชนมากมายต่างก็เห็นด้วยกับวิธีคิด–วิธีตัดสินใจในลักษณะนี้ เพราะว่าประชากรของโลกส่วนใหญ่ต่างก็ถูกทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่เข้าครอบงำเสียแล้ว คงเป็นไปได้ยากที่ใครสักคนจะไม่ถูก “ความคิดแบบชายเป็นใหญ่” เข้าครอบงำ เพราะว่าทัศนคติดแบบชายเป็นใหญ่ได้ครอบคลุมโลกสีฟ้าใบนี้ไปเกือบหมดทุกหย่อมหญ้าเสียแล้ว... ที่สำคัญกว่าความรุนแรงอื่นใดก็คือเมื่อเกิดภาวะสงครามขึ้น การใช้ความรุนแรงระหว่างเพศที่ปกติเคยมีอยู่แล้วก็กลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นก็คือ การข่มขืนกระทำชำเราสตรีเพศโดยฝ่ายที่มีชัยเหนือกว่า ตรงนี้ไม่ต้องมองไกลเอาใกล้ ๆ แค่เหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ เราก็ยังพบว่านักศึกษาหญิงที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นเองก็ยังถูกฝ่ายที่มีชัยเหนือกว่าข่มขืน โดยที่ความรุนแรงระหว่างเพศตรงนี้มาจากวิธีคิดว่าใครก็ตามที่ไม่ใช่พวกเดียวกับเราต่างป็นศัตรูทั้งสิ้น โดยไม่มีการมองว่าผู้หญิงก็คือบุคคลที่ควรได้รับการงดเว้นแม้จะอยู่ฝ่ายตรงข้าม นี่คือความรุนแรงที่เราต้องตระหนักรู้กันให้มากภายใต้สังคมชายเป็นใหญ่
และหากวิเคราะห์ดูให้ดีในท่ามกลางวินาศกรรมและวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ คนที่ก่อวินาศกรรมบนเครื่องบินก็เป็นเพศชาย นายจอร์จดับเบิ้ลยูบุชเองก็เป็นเพศชาย อีกทั้งนายบิน ลาดิน ผู้ตกเป็นจำเลยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมตัวจริงหรือไม่ ก็มีวิธีการตอบโต้ด้วยวิธีการรุนแรงก็เป็นเพศชาย ดูไปตามเนื้อผ้าแล้วโลกของเราช่างตกอยู่ในกำมือของเพศชายจริง ๆ
คงถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ผู้ชายควรจะได้เรียนรู้วิธีคิด–วิธีตัดสินใจแบบประนีประนอมบ้าง ผู้หญิงเองควรมีโอกาสในการออกมาตัดสินชะตากรรมโลกมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะที่ผ่านมาผู้หญิงตกอยู่ในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมและเป็นผู้ถูกกระทำมาโดยตลอด หรือไม่เช่นนั้นสังคมโลกมนุษย์ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ นั่นคือเปลี่ยนโครงสร้างและทัศนคติ ที่เคยเปิดโอกาสให้ชายเป็นใหญ่ ไปสู่โครงสร้างสังคมที่ให้ความเสมอภาคและความสำคัญแก่ทุกเพศสภาพ
แต่ถ้าหากไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เปลี่ยนแปลงเลย ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด–วิธีตัดสินใจแบบชาย หรือไม่มีแม้แต่โครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนไป ก็คงเป็นเรื่องที่น่าหวั่นวิตกว่า โลกมนุษย์อาจจะต้องเผชิญกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ ด้วยอาวุธร้ายแรงที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการทำสงครามโดยเพศชายเป็นใหญ่ ซึ่งจะมีผู้หญิง เด็กและคนชราต้องตกเป็นแพะรับบาปจากสงครามอย่างรุนแรง และโลกจะต้องประสบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปอย่างนี้ต่อไปอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่กำลังปะทุอยู่ในขณะนี้ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอัฟกานิสถาน และอาจเป็นชนวนที่ทำให้ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ เข้าร่วมทำสงครามกันเป็นขบวน ซึ่งเรายังไม่อาจประเมินได้ว่าความสูญเสียครั้งนี้จะไปสิ้นสุดที่มูลค่าเท่าใดและไปยุติลง ณ กาลเวลาไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมูลค่าชีวิตของเพื่อนมนุษย์ที่ต้องถูกทำลายล้างไป อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ หรือในที่สุดแล้ว ก็อาจจะเหลือมนุษย์กลุ่มสุดท้ายเพียงไม่กี่คน ที่รอดพ้นจากหายนะสงครามมนุษย์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเอง หรือในที่สุดก็อาจจะไม่เหลือแม้แต่สิ่งมีชีวิตสักหน่วยเดียวบนโลกใบนี้
พระชาย วรธมฺโม
หากแนวคิด “สตรีนิยม” พอจะเป็นองค์ความรู้ประการหนึ่ง และพอจะมีความหมายกับสังคมมนุษย์เรา ที่มีโครงสร้างสังคมผู้ชายเป็นใหญ่อยู่บ้างละก็ ผู้เขียนอยากมองวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกของเราขณะนี้ด้วยแนวคิดสตรีนิยม ๓ ประเด็น
ประเด็นแรก สงครามที่มนุษย์กระทำต่อกันแต่ละครั้ง นับตั้งแต่ครั้งบรรพกาลเป็นต้นมาจนกระทั่งบัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นสงครามเล็ก สงครามใหญ่ สงครามย่อย สงครามกลางเมือง สงครามระหว่างเมือง ไปจนถึงสงครามใหญ่ ๆ อย่างเช่นสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง มาจนถึงเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่นำไปสู่บรรยากาศอันตึงเครียดและเร่าร้อนด้วยความขัดแย้ง และมีทีท่าว่าจะก่อตัวเป็นสงครามใหญ่อยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นสงคราม เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยมีผู้ชายเป็นผู้นำ หรือมีผู้ชายเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นเสียเป็นส่วนมาก อาจจะมีสงครามบางยุคบางสมัยหรือบางเหตุการณ์เท่านั้นที่เกิดขึ้นโดยมีผู้หญิงเป็นผู้นำ แต่ก็พบว่าน้อยครั้งมากที่ผู้หญิงจะออกมาเป็นผู้นำในการทำสงคราม หรือออกมาเป็นผู้ประกาศทำสงครามเสียเอง
ประเด็นที่สอง ในโลกของเราแต่ละประเทศล้วนแล้วแต่ปกครองโดยมีผู้นำเป็นชายแทบทั้งสิ้น การที่แต่ละประเทศมีผู้นำเป็นเพศชาย ใช่หรือไม่ว่า นี่ก็เป็นเหตุปัจจัยอีกข้อหนึ่ง ที่เอื้อให้โลกของเราต้องประสบกับเหตุการณ์และความรุนแรงอยู่เนือง ๆ มาโดยตลอด กรณีนี้หากเราลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าบนโลกของเรามีผู้นำประเทศเป็นเพศหญิงกันหมดทุกประเทศ โลกของเราจะเป็นอย่างไร จะมีสันติสุขมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่ หรือเพียงครึ่งหนึ่งของโลกมีผู้นำประเทศเป็นเพศหญิง เราก็อาจจะได้เห็นความแตกต่างในบรรยากาศแห่งการดำรงอยู่ของมนุษย์อย่างที่เคยเป็นก็เป็นได้ หรือลองคิดง่าย ๆ ดูว่าหากประธานาธิบดีของสหรัฐเป็นผู้หญิงล่ะ วิธีการปฏิบัติกับประเทศอื่น ๆ บนโลกที่ผ่านมาทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันจะมีสภาพอย่างที่ปรากฏอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องการประกาศทำสงครามกับอัฟกานิสถาน จะมีการประกาศทำสงครามอย่างรุนแรงเช่นนี้หรือไม่ การที่ผู้เขียนเสนอเช่นนี้ไม่ได้เสนอขึ้นมาลอย ๆ แต่เสนอขึ้นมาจากฐานคิดที่ว่า เพศหญิงเป็นเพศที่ให้กำเนิดชีวิตที่ต้องมีการอุ้มท้องนาน ๙ เดือน คงมีโอกาสน้อยที่ผู้หญิงจะมีวิธีคิดวิธีแก้ไขปัญหาแบบทำลายล้าง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือคงเป็นไปได้น้อยที่เพศที่ให้กำเนิดชีวิตจะกลายเป็นเพศที่ทำลายชีวิตได้ง่าย ๆ (ประเด็นนี้เป็นคนละประเด็นกับกรณีการทำแท้งของผู้หญิง เพราะเราต้องเข้าใจว่า การทำแท้งของลูกผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุมาจากการจัดระเบียบทางวัฒนธรรมและสังคม ที่มีความเคร่งครัดและเคร่งเครียดต่อผู้หญิงเป็นอย่างมาก โดยที่การจัดระเบียบทางวัฒนธรรมที่มีความเคร่งเครียดและเคร่งครัดต่อผู้หญิงอันนี้เอง ก็มีรากฐานมาจากโครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า การทำแท้งของผู้หญิง ก็เป็นผลพวงที่มีอิทธิพลมาจากทัศนคติที่ยึดถือเอาชายเป็นใหญ่ ไม่ได้มาจากการตัดสินใจของผู้หญิงโดยตรง)
ประเด็นที่สาม โครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่นั่นเอง ที่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของวินาศกรรมและความรุนแรงที่ตามมาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเรื่องการประกาศทำสงคราม การประกาศใช้ความรุนแรงเข้ายุติเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศใดประเทศหนึ่ง การประกาศเข้าร่วมทำสงครามกับประเทศมหาอำนาจ โดยที่ประเทศที่ประกาศเข้าร่วมทำสงครามนั้นต่างก็มีผู้นำเป็นเพศชายด้วยกันทั้งสิ้น และก็แน่นอนว่ามีประชาชนมากมายต่างก็เห็นด้วยกับวิธีคิด–วิธีตัดสินใจในลักษณะนี้ เพราะว่าประชากรของโลกส่วนใหญ่ต่างก็ถูกทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่เข้าครอบงำเสียแล้ว คงเป็นไปได้ยากที่ใครสักคนจะไม่ถูก “ความคิดแบบชายเป็นใหญ่” เข้าครอบงำ เพราะว่าทัศนคติดแบบชายเป็นใหญ่ได้ครอบคลุมโลกสีฟ้าใบนี้ไปเกือบหมดทุกหย่อมหญ้าเสียแล้ว... ที่สำคัญกว่าความรุนแรงอื่นใดก็คือเมื่อเกิดภาวะสงครามขึ้น การใช้ความรุนแรงระหว่างเพศที่ปกติเคยมีอยู่แล้วก็กลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นก็คือ การข่มขืนกระทำชำเราสตรีเพศโดยฝ่ายที่มีชัยเหนือกว่า ตรงนี้ไม่ต้องมองไกลเอาใกล้ ๆ แค่เหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ เราก็ยังพบว่านักศึกษาหญิงที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นเองก็ยังถูกฝ่ายที่มีชัยเหนือกว่าข่มขืน โดยที่ความรุนแรงระหว่างเพศตรงนี้มาจากวิธีคิดว่าใครก็ตามที่ไม่ใช่พวกเดียวกับเราต่างป็นศัตรูทั้งสิ้น โดยไม่มีการมองว่าผู้หญิงก็คือบุคคลที่ควรได้รับการงดเว้นแม้จะอยู่ฝ่ายตรงข้าม นี่คือความรุนแรงที่เราต้องตระหนักรู้กันให้มากภายใต้สังคมชายเป็นใหญ่
และหากวิเคราะห์ดูให้ดีในท่ามกลางวินาศกรรมและวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ คนที่ก่อวินาศกรรมบนเครื่องบินก็เป็นเพศชาย นายจอร์จดับเบิ้ลยูบุชเองก็เป็นเพศชาย อีกทั้งนายบิน ลาดิน ผู้ตกเป็นจำเลยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมตัวจริงหรือไม่ ก็มีวิธีการตอบโต้ด้วยวิธีการรุนแรงก็เป็นเพศชาย ดูไปตามเนื้อผ้าแล้วโลกของเราช่างตกอยู่ในกำมือของเพศชายจริง ๆ
คงถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ผู้ชายควรจะได้เรียนรู้วิธีคิด–วิธีตัดสินใจแบบประนีประนอมบ้าง ผู้หญิงเองควรมีโอกาสในการออกมาตัดสินชะตากรรมโลกมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะที่ผ่านมาผู้หญิงตกอยู่ในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมและเป็นผู้ถูกกระทำมาโดยตลอด หรือไม่เช่นนั้นสังคมโลกมนุษย์ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ นั่นคือเปลี่ยนโครงสร้างและทัศนคติ ที่เคยเปิดโอกาสให้ชายเป็นใหญ่ ไปสู่โครงสร้างสังคมที่ให้ความเสมอภาคและความสำคัญแก่ทุกเพศสภาพ
แต่ถ้าหากไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เปลี่ยนแปลงเลย ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด–วิธีตัดสินใจแบบชาย หรือไม่มีแม้แต่โครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนไป ก็คงเป็นเรื่องที่น่าหวั่นวิตกว่า โลกมนุษย์อาจจะต้องเผชิญกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ ด้วยอาวุธร้ายแรงที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการทำสงครามโดยเพศชายเป็นใหญ่ ซึ่งจะมีผู้หญิง เด็กและคนชราต้องตกเป็นแพะรับบาปจากสงครามอย่างรุนแรง และโลกจะต้องประสบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปอย่างนี้ต่อไปอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่กำลังปะทุอยู่ในขณะนี้ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอัฟกานิสถาน และอาจเป็นชนวนที่ทำให้ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ เข้าร่วมทำสงครามกันเป็นขบวน ซึ่งเรายังไม่อาจประเมินได้ว่าความสูญเสียครั้งนี้จะไปสิ้นสุดที่มูลค่าเท่าใดและไปยุติลง ณ กาลเวลาไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมูลค่าชีวิตของเพื่อนมนุษย์ที่ต้องถูกทำลายล้างไป อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ หรือในที่สุดแล้ว ก็อาจจะเหลือมนุษย์กลุ่มสุดท้ายเพียงไม่กี่คน ที่รอดพ้นจากหายนะสงครามมนุษย์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเอง หรือในที่สุดก็อาจจะไม่เหลือแม้แต่สิ่งมีชีวิตสักหน่วยเดียวบนโลกใบนี้
ความรุนแรง ที่ละมุนละไมและแนบเนียน
ที่บอกว่าเป็นความรุนแรง ที่ละมุนละไมแนบเนียน ตามชื่อบทความ ก็เพราะว่า เมื่อใดที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า คนรักเพศเดียวกัน เป็นพวกโรคจิต วิปริต ผิดปรกติ กลับไม่มีใครลุกขึ้นมา ทักท้วงหรือคัดค้าน จะมีก็แต่ความเงียบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังเสวนาว่าด้วยเรื่อง "ความรุนแรงต่อหญิงรักหญิงจะยุติลงได้อย่างไร?" จัดขึ้นที่โรงแรม เอส ดี อเวนิว ผู้เขียนได้แสดงความเห็นว่า "ความรุนแรงที่เกิดกับคนรักเพศเดียวกันนั้น ก็ไม่ต่างจาก ความรุนแรง ที่ผู้หญิงคนหนึ่งถูกข่มขืน" ที่พูดอย่างนั้นก็เพราะเพียงคำว่า ผิดปรกติ คำเดียวแค่นี้ ก็จัดว่ารุนแรงและสาหัสแล้ว ไม่ต้องไปสรรหาคำรุนแรงอื่นๆ มานินทาให้เสียเวลา ได้ยินครั้งหนึ่งก็เท่ากับถูกข่มขืนไปคราวหนึ่ง ลองคิดดูว่าคนที่รักเพศเดียวกัน ในชีวิตของเขาจะถูก ข่มขืนด้วยคำพูดที่รุนแรงเช่นนี้ไปกี่ครั้ง ซึ่งถึงแม้เขาจะไม่ได้ถูกข่มขืนทางร่างกาย แต่สิ่งที่เขาถูกกระทำก็คือการถูกกระทำชำเราทางจิต ซึ่งตรงนี้เราสามารถ สังเกตได้ง่ายๆ ว่า คนที่ถูกข่มขืนไม่กล้าลุกขึ้นต่อสู้ เพื่อสิทธิและความถูกต้องของตนฉันใด คนที่รักเพศเดียวกัน ต่างก็ไม่สามารถลุกขึ้นมาเปิดเผยตัวเอง เพื่อต่อสู้เพื่อสิทธิและความถูกต้องของตนฉันนั้น และที่บอกว่าเป็นความรุนแรงที่ละมุนละไมแนบเนียนตามชื่อบทความ ก็เพราะว่า เมื่อใดที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า คนรักเพศเดียวกันเป็นพวกโรคจิต วิปริต ผิดปรกติ กลับไม่มีใครลุกขึ้นมาทักท้วงหรือคัดค้าน จะมีก็แต่ความเงียบ ซ้ำร้ายกว่านั้น ก็คือ คนที่รักเพศเดียวกัน ก็ยิ่งวิตกกังวล ถูกกดดันและต้องปิดบังตัวเองมากยิ่งขึ้น เพราะหากเปิดเผย ตัวเองไป ก็จะยิ่งถูกมองว่าเป็นพวกวิปริต ผิดปรกติ และอาจถูกตั้งแง่รังเกียจตามมา นี่จึงเป็น "ความรุนแรงที่ละมุนละไมและแนบเนียน" ที่สังคมปล่อยให้ลอยนวลมาตลอด รายการเสวนาวันนั้นทำให้รู้ว่า ความรุนแรงไม่ได้เกิดจาก "ความเงียบ" ของสังคมที่เพิกเฉย ไม่นำพาเอาใจใส่ต่อสมาชิกร่วมสังคมกลุ่มนี้ ให้ได้รับความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโครงสร้างอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น อุดมการณ์เหย้าเรือน ที่พยายาม พร่ำบอกเสมอ ถึงบทบาทอันชัดเจนของสมาชิกหญิงชายที่ชัดเจนตายตัวภายในครอบครัว, ตัวบทกฎหมาย ทั้งกฎหมายบ้านเมืองและกฎหมายศีลธรรมที่ยังมีเนื้อหาไม่เข้ากับพฤติกรรมทางเพศที่เป็นจริงของคนในสังคม, ละครจากสื่อที่มุ่งเสนอทัศนคติต่อบทบาทชายหญิงที่ติดกรอบ, ท่านผู้รู้ที่มีดีกรีทางแพทย์และจิตศาสตร์ แต่ยังมีความ รู้เรื่องพฤติกรรมรักเพศเดียวกันของบุคคลอย่างไม่รอบด้าน จึงยังคงออกมาให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง, หรือแม้แต่รายการเสวนา ที่มักจะตั้งชื่อหัวข้อที่เรียกร้องความสนใจว่า "เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เป็นเกย์" แค่ได้ยินชื่อก็อาจทำให้คนที่เป็นเกย์ได้ผมร่วงไปหลายสิบเส้นเสียแล้ว ดูเหมือนว่า ความรุนแรงที่มีต่อคนรักเพศเดียวกัน จะตลบอบอวลไปในอากาศทุกอณู นี่ยังไม่นับรวมถ้อยคำ ที่ใช้เรียกขานคนกลุ่มนี้ว่า พวกรักร่วมเพศ พวกเบี่ยงเบนทางเพศ ซึ่งถูกอ้างว่าเป็นศัพท์วิชาการ แต่ก็อดรู้สึกและ เข้าใจไปไม่ได้ว่า ยังเป็นศัพท์วิชาการที่มีความรุนแรงเจือปนอยู่ ระหว่างการเสวนา ผู้เขียนมีโอกาสเสนอหลักธรรมที่อาจช่วยยุติความรุนแรงแก่คนรักเพศเดียวกัน นั่นก็คือเรื่อง พรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบไปด้วย เมตตา คือ การภาวนาขอให้คนอื่นมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีอัตลักษณ์หรือตัวตน แบบไหนก็ขอให้มองเขาด้วยเมตตา ปรารถนาอยากให้เขามีความสุขอย่างที่เขาเป็นเวลาที่เรามองคนอื่นด้วยความเมตตา ก็จะทำให้จิตของผู้ภาวนานั้น เย็นและมีความสุขไปด้วย และยังทำให้บรรยากาศรอบๆ เต็มไปด้วยความอบอุ่น กรุณา คือ การภาวนาขอให้คนอื่นพ้นทุกข์ ในที่นี้ คือ การภาวนาขอให้คนที่รักเพศเดียวกันพ้นจากการเข้าใจผิด พ้นจากการถูกรังเกียจ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ให้เขาพ้นจากความเป็น หญิงรักหญิง - ชายรักชาย เพราะความเป็นทั้งสองไม่ใช่ความทุกข์ แต่คนที่เป็นทุกข์และควรจะพ้นทุกข์มากกว่า คือคนที่เป็น Homophobia (คนที่รังเกียจบุคคลที่รักเพศเดียวกัน) เราควรภาวนาขอให้เขาพ้นจากความรู้สึกรังเกียจเช่นนั้น เพราะการรังเกียจ นั่นเอง ที่เป็นสาเหตุนำไปสู่ความรุนแรงอื่นๆ ตามมา มุทิตา คือ การร่วมยินดีแก่บุคคลที่รักเพศเดียวกันเพราะเขาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเคารพและจริงใจกับตัวเอง ในขณะที่คนอื่นๆ อาจทำไม่ได้อย่างเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรยินดีกับเขามากๆ หากเขาสามารถเปิดเผยตัวเองได้ เพราะเขากำลังทำสัจธรรมให้ปรากฏ นั่นคือการพูดความจริง อุเบกขา คือ การรู้จักปล่อยวาง หากเราไม่เห็นด้วยที่เขาเป็นหญิงรักหญิง ชายรักชาย กะเทย ทอม เกย์ ดี้ หรือรักสองเพศ แต่สิ่งที่เราทำได้ ก็คือ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างด้วยความสงบ และปล่อยวาง หากการกระทำของเขานั้น ไม่ได้ก่อความเดือดร้อนให้ใคร พึงจำไว้ว่า การเป็นคนรักเพศเดียวกันของบุคคล ยังไม่ก่อความเดือดร้อนให้ใคร ตราบเท่าที่บุคคลยังไม่ได้ไป ละเมิดคู่รักของคนอื่น ซึ่งมาตรฐานตรงนี้ ก็ไม่น่าหลุดไปจากกรอบศีลธรรมที่คู่รักต่างเพศนิยม ยึดถือปฏิบัติกันอยู่แล้ว ตรงนี้เห็นกันอย่างไรคงต้องฝากไว้พิจารณากันดู นั่นคือใจความของหลักธรรมเรื่องพรหมวิหาร ถึงแม้หลักธรรม ที่ผู้เขียนได้เสนอไปนั้น อาจจะไม่ใช่ข้อเสนอแนะที่ดีที่สุด แต่เราควรตระหนักรู้ว่าการอยู่ร่วมกันกับ บุคคลอื่นที่แตกต่างไปจากเรา (ซึ่งความแตกต่างนั้นไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน) ด้วยสันตินั้น จำเป็นต้อง เรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็นอย่างมาก และจัดว่าเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสูงทีเดียว.
พระชาย วรธัมโม
สะพาน
จาก 'ภิกษุณี' ถึง 'องคุลิมาล' เถรวาทห้ามแตะ
อนุรักษ์ ภาคภูมิ
สนามวิจารณ์ จุดประกาย กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันศุกร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ในที่สุดหนัง องคุลิมาล ก็ได้ลงโรงฉายเสียทีหลังจากที่ถูกองค์กรพุทธ ๒๐ กว่าองค์กรพากันพยายามแตะเบรกระงับการฉาย ด้วยการอ้างว่าเนื้อหาของหนังบิดพลิ้วไม่ตรงกับเรื่องราวในพระไตรปิฎก จะว่าไปกรณีแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเก่าซ้ำๆ ซากๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสังคม พุทธเถรวาทแบบไทยๆ หากใครจะออกมาทำอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับประเด็นทางพุทธศาสนาก็อย่าแปลกใจนัก หากจะเจอะเจอกับเหตุการณ์ทำนองนี้
ตัวอย่าง ๒-๓ ปีที่แล้วหลังจาก อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตัดสินใจออกบวชเป็นสามเณรี ท่านก็พยายามปลุกสังคมให้ตื่นตัวและเปิดประเด็นให้สังคมได้เรียนรู้เกี่ยวกับนักบวชหญิงที่เรียกว่า ภิกษุณี แต่ในที่สุดท่านก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จผลเป็นที่น่าพอใจนัก เพราะคณะสงฆ์ที่มีอำนาจเหนือกว่ามองไม่เห็นว่าสังคมไทยควรมีภิกษุณี อีกทั้งการออกมาเคลื่อนไหวก็ทำให้เนื้อตัวท่านต้องถลอกปอกเปิกไม่น้อย เพราะแรงปะทะไม่ได้มีมาจากคณะสงฆ์เท่านั้น ยังมีมาจากกระแสของพุทธบริษัทบางกลุ่ม มาจากองค์กรพุทธบางองค์กร รวมทั้งมาจากผู้หญิงด้วยกัน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากใครจะลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆ ในสังคมไทย
แม้แต่พระสงฆ์ที่เห็นด้วยอย่างท่าน พระศรีปริยัติโมลี เมื่อท่านออกมาพูดสนับสนุนภิกษุณีบ่อยครั้งเข้า (ทราบจากวงในว่า) ในที่สุดท่านก็ได้รับคำเตือนจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ว่า หากออกมาพูดอีกจะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง เราจึงไม่เห็นท่านออกมาพูดสนับสนุนภิกษุณีในที่สาธารณะอีกเลย
แท้จริงแล้วพระสงฆ์หลายรูปก็ไม่ได้คิดเหมือนกับที่คณะสงฆ์ในมหาเถรสมาคมคิด หลายท่านอยากให้มีภิกษุณีแต่ไม่สามารถออกมาแสดงความเห็นในที่สาธารณะได้ ซึ่งการที่ท่านไม่สามารถออกมาพูดได้นั้นคงเดาได้ไม่ยากว่ามีเงื่อนไขเรื่องอำนาจสงฆ์เป็นอุปสรรคอยู่
แม้กรณี พระเมตตานันโท ที่ท่านเขียนหนังสือ เหตุเกิด พ.ศ.๑ ออกมาถึงสองเล่ม อันเป็นหนังสือที่วิเคราะห์เหตุการณ์ภายหลังพุทธปรินิพพานไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่ม ๒ มีเนื้อหาที่กล่าวพาดพิงถึงการกำเนิดและความเป็นไปของภิกษุณีสงฆ์ ภายหลังพุทธปรินิพพานไว้อย่างละเอียดพิสดารและท้าทายยิ่งนัก ด้วยวิธีคิดที่แตกต่างของท่านเมตตานันโนนั่นเอง (ทราบมาอีกว่า) เกือบทำให้ท่านหาวัดอยู่ไม่ได้เหมือนกัน
การออกมาแสดงจุดยืนของนักบวช ๓ ท่านดังกล่าว ที่พยายามแตะต้องประเด็นภิกษุณีอันเป็นการแสดงออกถึงทัศนคติที่แตกต่างจากสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ท่านทั้งสามได้ถูกจัดการและควบคุมจากฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าและไม่เห็นด้วยอย่างไร
ย้อนกลับมาที่หนังเรื่อง องคุลิมาล ซึ่งออกจะเป็นประเด็นที่คล้ายๆ กันอยู่ และก็เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่าเหตุใดจึงมีการเรียกร้องให้มีการระงับการฉาย หรือตัดต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเสียใหม่ เพียงเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้มีการดัดแปลงต่อเติ่มเรื่องราวเข้าไปให้พิสดาร ทั้งๆ ที่เป็นเพียงภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง โดยส่วนที่ต่อเติมดัดแปลงก็ไม่ได้ทำให้ส่วนที่เป็นเนื้อหาหลักผิดเพี้ยนไป และกลับพบว่าเป็นหนังที่มีคติสอนใจผู้ชมไม่น้อย
ประเด็นนี้เป็นไปได้หรือไม่ว่าเพราะเราสมาทานเป็น เถรวาท เราจึงไม่ยอมแม้แต่จะแตะต้อง หรือแม้แต่จะกล้าตีความพระธรรมวินัยใหม่ๆ ไม่ว่าพระธรรมวินัยข้อนั้นจะเอื้อประโยชน์ต่อมหาชนอย่างมหาศาลเพียงไรก็ตาม แม้เราจะมีหลัก กาลามสูตร ที่สอนให้พิจารณาก่อนเชื่อถือเรื่องราวใดๆ เป็นหลักประกันภายในอยู่แล้วเช่นกัน หรือแม้เราจะมีพุทธพจน์ (ที่กล่าวกับพระอานนท์) ว่า สิกขาบทเล็กน้อย สงฆ์จะพิจารณาเพิกถอนก็สามารถทำได้ ก็ดูจะเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครเคยหยิบยกมาใช้ในยามคับขันเสียที
ในที่สุด องคุลิมาล จึงเป็นเรื่องของ องคุลิมาล ที่ต้องถูกตัดต่อถ่ายทำให้ถูกต้องตามเนื้อหาในพระไตรปิฎกทุกกระเบียดนิ้ว เช่นเดียวกับเรื่องของภิกษุณี ที่ต้องมีการอุปสมบทอันมีที่มาที่ไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบอย่างเถรวาท ห้ามบูดเบี้ยวเฉไฉแม้แต่น้อยนิด ในบรรยากาศเช่นนี้ ทำให้เราได้เห็นพุทธศาสนา ๒ ขั้วที่กำลังหันหน้าเข้าปะทะกันในสถานการณ์ต่างๆ หลายครั้งเป็นต้นมา ขั้วหนึ่งพยายามประยุกต์ศาสนธรรมให้เข้ากับยุคสมัยของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ในขณะที่อีกขั้วหนึ่งพยายามดำรงรักษาไว้ซึ่งเนื้อหาและรูปแบบอย่างตรงตัวอักษร
ดูเหมือนพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาลนี้กำลังก้าวไปพร้อมๆ กันระหว่างแนวคิดอนุรักษ์นิยมกับประยุกต์นิยมและก็ดูจะก้าวไปด้วยกันแบบเส้นขนานที่ค่อยๆ แยกห่างกันออกไปคนละเส้นทางหาไม่แล้วหนังองคุลิมาลก็คงไม่ต้องแปะฉลากก่อนชมว่า หนังเรื่องนี้เป็นจินตนาการของผู้สร้าง ซึ่งคนดูก็คงมีวิจารณญาณแยกแยะได้ออกอยู่แล้วถึงจะไม่ต้องแปะฉลากก่อนชมก็ตาม
อุทาหรณ์จากหนังเรื่ององคุลิมาลอาจทำให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่ต้องการนำเสนออะไรใหม่ๆ ในสังคมไทยต้องทำการบ้านหนักขึ้นกว่าเก่าหากจะต้องไปแตะประเด็นศาสนาเข้า เพราะสังคมไทยยังไม่พร้อมให้ใครเข้าไปทำอะไรกับศาสนา ถ้าไม่เจ็บเนื้อเจ็บตัวกลับมาเหมือนกรณีสามเณรีธัมมนันทา ก็อาจจะต้องเสี่ยงกับการขาดทุนเป็นเงินเป็นทองแบบองคุลิมาลหากหนังเรื่องนี้ถูกแบนขึ้นมาจริงๆ
เพราะนั่นหมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่ต้องเสี่ยงกับการม้วนเสื่อกลับบ้านไปใช้หนี้หัวโตทีเดียว ..
อนุรักษ์ ภาคภูมิ มีข้อเขียนแสดงทัศนะบนหน้าหนังสือพิมพ์สม่ำเสมอ นอกจากผลงานที่มีหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องบุคคลรักร่วมเพศ ในมิติต่างๆ ทางสังคมแล้ว เขายังให้ความสนใจแก่ประเด็นทางศาสนาอีกด้วย
สนามวิจารณ์ จุดประกาย กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันศุกร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ในที่สุดหนัง องคุลิมาล ก็ได้ลงโรงฉายเสียทีหลังจากที่ถูกองค์กรพุทธ ๒๐ กว่าองค์กรพากันพยายามแตะเบรกระงับการฉาย ด้วยการอ้างว่าเนื้อหาของหนังบิดพลิ้วไม่ตรงกับเรื่องราวในพระไตรปิฎก จะว่าไปกรณีแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเก่าซ้ำๆ ซากๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสังคม พุทธเถรวาทแบบไทยๆ หากใครจะออกมาทำอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับประเด็นทางพุทธศาสนาก็อย่าแปลกใจนัก หากจะเจอะเจอกับเหตุการณ์ทำนองนี้
ตัวอย่าง ๒-๓ ปีที่แล้วหลังจาก อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตัดสินใจออกบวชเป็นสามเณรี ท่านก็พยายามปลุกสังคมให้ตื่นตัวและเปิดประเด็นให้สังคมได้เรียนรู้เกี่ยวกับนักบวชหญิงที่เรียกว่า ภิกษุณี แต่ในที่สุดท่านก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จผลเป็นที่น่าพอใจนัก เพราะคณะสงฆ์ที่มีอำนาจเหนือกว่ามองไม่เห็นว่าสังคมไทยควรมีภิกษุณี อีกทั้งการออกมาเคลื่อนไหวก็ทำให้เนื้อตัวท่านต้องถลอกปอกเปิกไม่น้อย เพราะแรงปะทะไม่ได้มีมาจากคณะสงฆ์เท่านั้น ยังมีมาจากกระแสของพุทธบริษัทบางกลุ่ม มาจากองค์กรพุทธบางองค์กร รวมทั้งมาจากผู้หญิงด้วยกัน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากใครจะลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆ ในสังคมไทย
แม้แต่พระสงฆ์ที่เห็นด้วยอย่างท่าน พระศรีปริยัติโมลี เมื่อท่านออกมาพูดสนับสนุนภิกษุณีบ่อยครั้งเข้า (ทราบจากวงในว่า) ในที่สุดท่านก็ได้รับคำเตือนจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ว่า หากออกมาพูดอีกจะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง เราจึงไม่เห็นท่านออกมาพูดสนับสนุนภิกษุณีในที่สาธารณะอีกเลย
แท้จริงแล้วพระสงฆ์หลายรูปก็ไม่ได้คิดเหมือนกับที่คณะสงฆ์ในมหาเถรสมาคมคิด หลายท่านอยากให้มีภิกษุณีแต่ไม่สามารถออกมาแสดงความเห็นในที่สาธารณะได้ ซึ่งการที่ท่านไม่สามารถออกมาพูดได้นั้นคงเดาได้ไม่ยากว่ามีเงื่อนไขเรื่องอำนาจสงฆ์เป็นอุปสรรคอยู่
แม้กรณี พระเมตตานันโท ที่ท่านเขียนหนังสือ เหตุเกิด พ.ศ.๑ ออกมาถึงสองเล่ม อันเป็นหนังสือที่วิเคราะห์เหตุการณ์ภายหลังพุทธปรินิพพานไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่ม ๒ มีเนื้อหาที่กล่าวพาดพิงถึงการกำเนิดและความเป็นไปของภิกษุณีสงฆ์ ภายหลังพุทธปรินิพพานไว้อย่างละเอียดพิสดารและท้าทายยิ่งนัก ด้วยวิธีคิดที่แตกต่างของท่านเมตตานันโนนั่นเอง (ทราบมาอีกว่า) เกือบทำให้ท่านหาวัดอยู่ไม่ได้เหมือนกัน
การออกมาแสดงจุดยืนของนักบวช ๓ ท่านดังกล่าว ที่พยายามแตะต้องประเด็นภิกษุณีอันเป็นการแสดงออกถึงทัศนคติที่แตกต่างจากสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ท่านทั้งสามได้ถูกจัดการและควบคุมจากฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าและไม่เห็นด้วยอย่างไร
ย้อนกลับมาที่หนังเรื่อง องคุลิมาล ซึ่งออกจะเป็นประเด็นที่คล้ายๆ กันอยู่ และก็เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่าเหตุใดจึงมีการเรียกร้องให้มีการระงับการฉาย หรือตัดต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเสียใหม่ เพียงเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้มีการดัดแปลงต่อเติ่มเรื่องราวเข้าไปให้พิสดาร ทั้งๆ ที่เป็นเพียงภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง โดยส่วนที่ต่อเติมดัดแปลงก็ไม่ได้ทำให้ส่วนที่เป็นเนื้อหาหลักผิดเพี้ยนไป และกลับพบว่าเป็นหนังที่มีคติสอนใจผู้ชมไม่น้อย
ประเด็นนี้เป็นไปได้หรือไม่ว่าเพราะเราสมาทานเป็น เถรวาท เราจึงไม่ยอมแม้แต่จะแตะต้อง หรือแม้แต่จะกล้าตีความพระธรรมวินัยใหม่ๆ ไม่ว่าพระธรรมวินัยข้อนั้นจะเอื้อประโยชน์ต่อมหาชนอย่างมหาศาลเพียงไรก็ตาม แม้เราจะมีหลัก กาลามสูตร ที่สอนให้พิจารณาก่อนเชื่อถือเรื่องราวใดๆ เป็นหลักประกันภายในอยู่แล้วเช่นกัน หรือแม้เราจะมีพุทธพจน์ (ที่กล่าวกับพระอานนท์) ว่า สิกขาบทเล็กน้อย สงฆ์จะพิจารณาเพิกถอนก็สามารถทำได้ ก็ดูจะเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครเคยหยิบยกมาใช้ในยามคับขันเสียที
ในที่สุด องคุลิมาล จึงเป็นเรื่องของ องคุลิมาล ที่ต้องถูกตัดต่อถ่ายทำให้ถูกต้องตามเนื้อหาในพระไตรปิฎกทุกกระเบียดนิ้ว เช่นเดียวกับเรื่องของภิกษุณี ที่ต้องมีการอุปสมบทอันมีที่มาที่ไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบอย่างเถรวาท ห้ามบูดเบี้ยวเฉไฉแม้แต่น้อยนิด ในบรรยากาศเช่นนี้ ทำให้เราได้เห็นพุทธศาสนา ๒ ขั้วที่กำลังหันหน้าเข้าปะทะกันในสถานการณ์ต่างๆ หลายครั้งเป็นต้นมา ขั้วหนึ่งพยายามประยุกต์ศาสนธรรมให้เข้ากับยุคสมัยของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ในขณะที่อีกขั้วหนึ่งพยายามดำรงรักษาไว้ซึ่งเนื้อหาและรูปแบบอย่างตรงตัวอักษร
ดูเหมือนพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาลนี้กำลังก้าวไปพร้อมๆ กันระหว่างแนวคิดอนุรักษ์นิยมกับประยุกต์นิยมและก็ดูจะก้าวไปด้วยกันแบบเส้นขนานที่ค่อยๆ แยกห่างกันออกไปคนละเส้นทางหาไม่แล้วหนังองคุลิมาลก็คงไม่ต้องแปะฉลากก่อนชมว่า หนังเรื่องนี้เป็นจินตนาการของผู้สร้าง ซึ่งคนดูก็คงมีวิจารณญาณแยกแยะได้ออกอยู่แล้วถึงจะไม่ต้องแปะฉลากก่อนชมก็ตาม
อุทาหรณ์จากหนังเรื่ององคุลิมาลอาจทำให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่ต้องการนำเสนออะไรใหม่ๆ ในสังคมไทยต้องทำการบ้านหนักขึ้นกว่าเก่าหากจะต้องไปแตะประเด็นศาสนาเข้า เพราะสังคมไทยยังไม่พร้อมให้ใครเข้าไปทำอะไรกับศาสนา ถ้าไม่เจ็บเนื้อเจ็บตัวกลับมาเหมือนกรณีสามเณรีธัมมนันทา ก็อาจจะต้องเสี่ยงกับการขาดทุนเป็นเงินเป็นทองแบบองคุลิมาลหากหนังเรื่องนี้ถูกแบนขึ้นมาจริงๆ
เพราะนั่นหมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่ต้องเสี่ยงกับการม้วนเสื่อกลับบ้านไปใช้หนี้หัวโตทีเดียว ..
อนุรักษ์ ภาคภูมิ มีข้อเขียนแสดงทัศนะบนหน้าหนังสือพิมพ์สม่ำเสมอ นอกจากผลงานที่มีหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องบุคคลรักร่วมเพศ ในมิติต่างๆ ทางสังคมแล้ว เขายังให้ความสนใจแก่ประเด็นทางศาสนาอีกด้วย
ตามสายน้ำ
อนุรักษ์ ภาคภูมิ
การนำเอาปรัชญาทางพุทธศาสนามาทำเป็นหนัง ในวงการภาพยนตร์บ้านเราดูเหมือนว่าจะพบเห็นไม่บ่อยนัก ล่าสุดที่เพิ่งผ่านตาไปไม่นานก็คือ ‘โอเค เบตง’ พูดถึงโลกสับสนของคนเพิ่งสึกก็ทำได้น่าสนใจดี แต่สำหรับ ‘ตามสายน้ำ’ แล้ว เป็นการนำเอาปรัชญาทางพุทธ มาผูกโยงเข้ากับเรื่องราวความรักของเกย์ ได้อย่างประณีตน่าสนใจและควรเก็บมาพูดถึงไม่น้อย
‘ตามสายน้ำ’ ว่าด้วยเรื่องราวความรักของกฤต (เกย์ที่รู้ตัวชัดเจนว่าเป็นเกย์) ที่มีต่อวิน (เกย์ที่ไม่ค่อยชัดเจนตัวเองว่าเป็นเกย์เท่าไร) เป็นความรักที่ไม่มีโอกาสพัฒนาไปสู่ความรักที่เป็นจริงไปได้ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ จนกระทั่งทั้งคู่พากันไปเที่ยวน้ำตก ที่นั่นกฤตจึงได้ค้นพบสัจธรรมบางอย่างรออยู่
หนังเปิดเรื่องด้วยฉากถวายสังฆทานที่ดูเหมือนว่า จะเป็นพิธีกรรมที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ความเป็นชาวพุทธของคนไทยในเวลานี้ได้ดีที่สุด เกี่ยวกับการเข้าวัดเพื่อทำบุญ การกรวดน้ำในฉากนี้เป็นการเริ่มต้นของการใช้ ‘น้ำ’ เป็นสัญลักษณ์ต่อเนื่องไปสู่น้ำในฉากอื่น ๆ อีกหลายฉากในหนัง น้ำที่มีลักษณะของความเป็นธรรมชาติที่เลื่อนไหลไม่หยุดนิ่ง คล้ายกับอะไรบางอย่างที่พ้นไปจากการควบคุมของมนุษย์ เช่นเดียวกับคำสอนของหลวงตาที่บอกว่า อย่ายึดติด โลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ยั่งยืน มีเกิดก็ต้องมีดับ อย่ายึดติดเป็นเจ้าของ ปล่อยเป็นอิสระใจก็จะเป็นสุข
จากนั้นหนังก็เริ่มต้นเล่าเรื่องผ่านการบุกป่าขึ้นไปชมน้ำตก ระหว่างกฤตกับวินและเพื่อนผู้หญิงอีกสองคน หนังเล่าเรื่องผ่านมุมมองของกฤตว่าตนกับวินนั้นรักกัน ทั้งคู่ชอบการท่องเที่ยว ไม่ว่ากฤตจะไปไหนก็ต้องมีวินตามไปด้วยเสมอ แต่ในวินาทีนี้คนดูก็อาจจะเริ่มงง ๆ พร้อม ๆ ไปกับเรื่องเล่าของกฤตตั้งแต่ฉากว่ายน้ำในห้วยที่มีวินเป็นฝ่ายว่ายนำแต่มีกฤตว่ายตาม (ในที่สุดแล้วใครเป็นฝ่ายตามกันแน่ ?) หรือเราจะเห็นได้ว่าขณะที่ภาพในจอหนังกำลังดำเนินไป
วินมีความกระอักกระอ่วนบางอย่างแสดงออกให้เห็นเป็นระยะ เมื่อกฤตตั้งคำถามว่าถ้ามีหมาวิ่งมารุมกัดกฤต วินจะทำอย่างไร วินได้แต่ตอบเรื่อย ๆ แบบไม่ได้ใส่ใจว่า ‘ก็คงจะเข้าไปช่วย’ บางทีวินอาจจะไม่ได้รักกฤตอย่างที่กฤตเล่าให้คนดูฟัง ? ที่ใต้ต้นนุ่นเมื่อกฤตล้มตัวลงนอนกอดวินวินก็รีบตัดบทลุกขึ้นหนีทันที เหตุการณ์ในห้องเรียนที่ทั้งคู่ต้องออกมาแสดงการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ เมื่อกฤตแสดงการปฐมพยาบาลแบบเม้าทูเม้ากับวิน กฤตกลับถูกวินผลักจนล้มลงไปนอนกับพื้น แม้แต่สิ่งที่กฤตอธิษฐานก่อนทำบุญ ก็คือขอให้สมหวังในความรักมีความรักที่มั่นคงถาวรตลอดกาล ตอนนี้คนดูคงเริ่มเห็นแล้วว่ากฤตโหยหา ‘ความรัก’ จากวินขนาดไหน
เมื่อเดินเข้าป่าได้ครึ่งทางกฤตดันทุรังจะเดินขึ้นไปจนถึงน้ำตกชั้นสุดท้ายให้ได้ ในขณะที่อีกสามคน เริ่มถอดใจด้วยระยะทางที่ไกลและอันตราย ในที่สุดเพื่อนหญิงทั้งสองคน (คนหนึ่งเป็นแฟนของวิน) ก็แยกตัวกลับก่อนในขณะที่วินตัดสินใจเดินไปเป็นเพื่อนกฤตแต่ก็ไม่วายมีปากเสียงกัน การตัดสินใจเลือกไปกับกฤตแสดงให้เห็นว่าวินเลือกผู้ชายแทนที่จะเลือกไปกับผู้หญิงคือแฟนสาว เหตุการณ์ในหนังดำเนินไปเรื่อย ๆ โดยมี ‘ภาพย้อนอดีต’ แทรกเข้ามาเป็นระยะเพื่อบอกเล่าความสัมพันธ์ของตัวละครชายสองคนนี้ ว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนและไม่ราบรื่นนัก
ถ้าวินเป็นเกย์ที่ปกปิดความเป็นเกย์ของตัวเอง อย่างที่ผู้กำกับอธิบายให้ฟัง ในเบื้องหลังการถ่ายทำของหนังเรื่องนี้ละก็ตัวละครสองตัวระหว่างกฤตกับวิน ช่างมีอะไรที่แตกต่างกันลิบลับ กฤตสนองตอบความต้องการของตนเองด้วยการไปเที่ยว ‘ห้องมืด’ สถานบริการทางเพศของเกย์ที่ไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน เพียงแค่ใช้มือสัมผัสกันหากสัมผัสถูกต้องตัวใคร ก็คือคนนั้นที่จะเป็นผู้บำบัดความใคร่ให้กันและกันในค่ำคืนแห่งความหิวกระหาย ในขณะที่วินเสแสร้งสนองตอบความต้องการในเพศเดียวกันของตน ด้วยการหันไปซื้อบริการกับผู้หญิงนั่งชั่วโมงตามบาร์ จนกระทั่งมาเจอกับกฤตยืนเตร่อยู่หน้าบาร์ในคืนหนึ่ง
วินต้องคอยคบหญิงบังหน้าถึงแม้จะต้องประสบกับการแยกทางซ้ำ ๆ ซาก ๆ ภายใต้เหตุผลยอดฮิตที่เขาต้องคอยตอบใคร ๆ ว่า ‘เข้ากันไม่ได้’ และคอยหลีกเลี่ยงคำถามที่เขามักจะถูกถามอยู่เสมอว่าชอบผู้หญิงหรือเปล่าด้วยการเปรย ๆ ว่า ‘ทำไมใคร ๆ ชอบคิดว่ากูเป็นเกย์’ ซึ่งเขาช่างดูวิตกกังวลกับการเป็นเกย์มาก ๆ
กฤตใช้ชีวิตไปตามสบายอยากมีอะไรกับใคร ก็มีแม้แต่กับฝรั่งที่อาจจะรู้จักกันแค่ชั่วข้ามคืน แต่สำหรับวินแล้วเขาเป็นเกย์ที่ต้องคอยปกปิดตัวตน ด้วยการซื้อบริการทางเพศกับหญิงให้คลายความกำหนัดไปวัน ๆ และแม้ว่าทั้งคู่จะเลือกการปลดปล่อยความต้องการทางเพศไปคนละวิถี แต่สิ่งที่ทั้งคู่มักจะมีอะไรทำร่วมกันเสมอคือการเข้าวัดทำบุญด้วยกัน ฉากที่กระแทกใจคนดูไม่น้อยน่าจะเป็นฉากที่สองหนุ่มเข้าไปไหว้พระในโบสถ์ หลังจากค่ำคืนที่ผ่านมาต่างก็มีเซ็กส์ในแบบที่ตนเลือกที่จะปลดปล่อยไปตามความใคร่ของตน หนังทำให้เห็นความขัดแย้งในพฤติกรรมมนุษย์ ระหว่างกิเลสตัณหากับความฝักใฝ่ในความสะอาดบริสุทธิ์ ตัวละครเข้าไปกราบไหว้พระในโบสถ์ในขณะที่ฉากก่อนนี้เรา (คนดู) ได้เห็นพฤติกรรมของตัวละครที่เรียกได้ว่าเป็น ‘ประพฤตินอกกรอบศีลธรรมทางเพศ’ ที่สังคมวางไว้ บางทีหนังกำลังสะท้อนว่าทั้งตัวละครหรือแม้แต่คนดูเองต่างก็ ‘ร่วมเพศในตอนกลางคืน’ และ ‘เอามือไหว้พระในตอนกลางวัน’ ด้วยกันทั้งนั้น
ในที่สุดเมื่อกฤตเผยความในใจว่าตนเองรักวินและ ณ ที่นั้นมีอยู่กันเพียงสองคน สิ่งที่กฤตเฝ้าหวังมานานก็เกิดขึ้นเมื่อกฤตโผเข้ากอดวินอย่างแนบแน่น แล้วทั้งคู่ก็กลายเป็นของกันและกันท่ามกลางป่าเขาในค่ำคืนนั้นเอง แต่แล้วสิ่งที่ผิดความคาดหมายก็เกิดขึ้นเมื่อกฤตคิดว่าวินจะยอมรับความรักที่ตนมีให้พร้อม ๆ กับการยอมรับตัวเองว่าเป็นเกย์ก็กลายเป็นสิ่งที่วินปฏิเสธผ่านคำพูดว่า ‘ไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้นะ’ (ว่าเรามีอะไรกัน) นั่นทำให้กฤตเริ่มตระหนักรู้ซึ้งถึง ‘ความไม่เที่ยง’ มากยิ่งขึ้น กฤตเริ่มเข้าถึงความจริงอะไรบางอย่าง การมีเซ็กส์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ละครั้งที่ปราศจากความรักและเยื่อใยผูกพันกัน เหมือนกับคำที่หลวงตาพูดไว้ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ยั่งยืน ทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดมีดับไม่ต่างจากซากกวางที่เขาพบ
หนังยังพาเราไปร่วมค้นพบสัจธรรมของกฤตผ่านเรื่องราว ‘ไตรภูมิพระร่วง’ บนจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ตั้งแต่ชั้น กามาวจรภูมิ ภพภูมิที่ยังข้องเกี่ยวด้วยกาม รูปาวจรภูมิ ภพภูมิของเทวดาที่ยังหลงใหลในของทิพย์สรวงสวรรค์ อรูปาวจรภูมิ ภพภูมิของพรหมที่ไร้ตัวตน ภาพเปรียบเทียบกฤตเดินเข้าไปในป่าลึกเพียงคนเดียวเพื่อค้นหาน้ำตกชั้นที่เจ็ด ตอนนี้วินได้หายตัวไปแล้วปล่อยให้กฤตเดินเข้าไปในป่าลึกเพียงลำพัง
และเมื่อกฤตขึ้นมาถึงน้ำตกชั้นสุดท้าย ‘น้ำตกผาช้างชั้นที่เจ็ด’ สิ่งที่กฤตคาดหวังว่าจะได้เห็น กลับกลายเป็นทางน้ำแห้งผากไม่มีน้ำไหลลงมาให้เห็นแม้แต่หยดเดียว มีเพียงต้นน้ำเล็ก ๆ ที่ไม่ได้ยิ่งใหญ่สวยงามอะไร นั่นเองทำให้เขาเข้าใจถึงความไม่เที่ยง ไม่คาดหวังเป็นเจ้าของสิ่งใด และปล่อยวางอย่างเป็นอิสระในที่สุด ที่นั่นกฤตหยิบเอา ‘ดอกไม้แห่งความทรงจำที่มีต่อวิน’ ที่เขาเฝ้าเก็บดอกไม้ใบไม้หลากหลายชนิด (แม้แต่ปุยนุ่น) เอาเก็บใส่สมุดทับไว้ทุกครั้งที่เขาได้ไปไหนมาไหนกับวินจากนั้นก็โปรยมันลอยล่องไปกับสายน้ำ (ฉากนี้คงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง) ถ้าใครเคยดู Little Buddha คงนึกถึงฉากโปรยเถ้าอังคารลามะดอเจในทะเลที่ให้ความรู้สึกถึงการพรัดพรากและความอนิจจัง หรือไม่ก็คงรู้สึกคล้าย ๆ กับความรักที่ไม่สมหวังของเตี๋ยอีที่มีให้กับเสี่ยวโหล่วใน Farewell to my concubine หรือนึกถึงตำรวจเกย์ที่ไม่ยอมรับตัวเองว่าเป็นเกย์ใน East Palace West Palace ‘ตามสายน้ำ’ อาจจะรวบรวมเอาความรู้สึกของหนังเกย์หลายเรื่องมารวมกันไว้ ขณะเดียวกันก็สามารถทำให้คิดถึงหนังพุทธทิเบตบางเรื่องได้ด้วย
กฤตสามารถยอมรับความรักที่ไม่สมหวังได้ในที่สุด กฤตไม่ได้โหยหาความรักที่นิรันดรสมบูรณ์แบบอีกต่อไป เขายังอุตส่าห์พับกระทงมาเผื่อวินในฉากสุดท้าย วินถามกฤตว่าอธิษฐานอะไร กฤตตอบว่า ‘เปล่าหรอก ฉันไม่ได้อธิษฐานอะไรเลย’ โดยมีผู้หญิงอีกคนนั่งลอยกระทงเคียงข้างวิน
บทจบของหนังเรื่องนี้ถึงจะเป็นความรักที่ไม่สมหวังแต่ก็น่าจะดีกว่าหนังเกย์หลาย ๆ เรื่องที่ผ่านมาที่บทสรุปของหนังเกย์มักจะเป็นโศกนาฏกรรม ไม่เกย์ฆ่าตัวตายก็คงเป็นบ้าเป็นหลังด้วยโรคจิตโรคประสาท ตัวละครกฤตอาจจะโชคดีที่สามารถเข้าถึงสัจธรรม โดยใช้ความรักที่ไม่สมหวังเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ เป็นการเข้าถึงอำนาจภายในที่ไปพ้นจากการตกเป็นเหยื่อ หรือเข้าถึงการบรรลุธรรม (Enlighten-ment) ตามคติทางพุทธศาสนา ในขณะที่ตัวละคร
วินก็คงอยู่กับการปิดบังซ่อนเร้นตนเองทนอยู่กับการไม่พอใจตนเองที่รักเพศเดียวกัน (Homophobia) อีกต่อไป (ตกเป็นเหยื่อของอคติทางสังคม) แต่ความรักที่ไม่สมหวังในหนังเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่อธิบายได้ว่า เพราะเป็นความรักที่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าฝ่ายหนึ่งยังไม่สามารถยอมรับใน sexuality (ระบบความคิดความหมายเรื่องเพศ) ของตัวเองได้ ความรักจึงไปไม่ถึงดวงดาว
อะไรทำให้เกย์อย่างวินยอมรับตัวเองไม่ได้ ถ้าให้ตอบตรงนี้ก็คือเป็นเรื่องของกรอบวิธีคิดทางสังคม ที่นอกจากจะมีท่าทีรังเกียจเกย์แล้วยังส่งผลให้เกย์จำนวนหนึ่งรู้สึกรังเกียจตัวเองไปด้วย วินก็คงเป็นหนึ่งในเกย์อีกจำนวนหลายคนที่ต้องคอยปกป้องตนเอง ด้วยการเสแสร้งแกล้งแมนต่าง ๆ นานา หรือแม้แต่คำให้สัมภาษณ์ของผู้ที่แสดงเป็นวิน (ณพงษ์ วิริยะสมบูรณ์) ก็ให้สัมภาษณ์ถึงฉากเลิฟซีนที่แสดงกับ ประกาศิต หอวรรณภากร (กฤต) ว่าพยายามถ่ายเทคเดียวผ่านไม่อยากถ่ายหลายเทค แม้การรับบทเป็นเกย์แอบของ ณพงษ์ เองก็ยังต้องต่อสู้กับอคติอะไรหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับเกย์ทั้งจากภายนอกและภายในตนเอง อย่างที่เขาให้สัมภาษณ์เบื้องหลังการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ในท้ายแผ่น VCD
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่าเวลาที่ผู้คนเข้าไปข้องแวะกับอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเกย์ เกย์ เกย์ คนจะเริ่มรู้สึกถึงความไม่สบายเนื้อสบายตัวบางอย่าง ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นเกย์หรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่สามารถนำมาอธิบายต่อได้ว่า ทำไมเกย์คนหนึ่งถึงไม่ได้รู้สึกดีไปกับความเป็นเกย์ของตนเอง นั่นเป็นเพราะจิตสำนึกร่วมของสังคม (collective conciousness) คิดและรู้สึกไม่ดีกับเกย์ไปแล้ว เกย์เองก็รับเอาจิตสำนึกร่วมของสังคมนั้นมามีอคติกับตัวเองซ้อนเข้าไปอีกที จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมเกย์อย่างวินจึงยอมรับตัวเองไม่ได้
สิ่งที่คู่รักเกย์ต้องทำมากและอาจจะมากกว่าคู่รักต่างเพศก็คือ การที่ต่างฝ่ายต่างต้องคอยหันมาดูแลฟูมฟักเอาใจใส่พัฒนาการการยอมรับ ตัวตนของความเป็นเกย์ ในคู่ของตนให้มีการเจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กันกับความรักที่มีให้กันซึ่งอาศัยการทำบุญที่วัดอย่างเดียวคงไม่พอ คู่รักเพศเดียวกันน่าจะภาคภูมิใจในความรักของตัวเองมาก ๆ ที่¸ªามารถนำพาความรักของตนฝ่าฟันอุปสรรค ที่มากกว่าคู่รักต่างเพศหลายเท่าตัวออกมาได้
สำหรับคู่ของกฤตกับวินเห็นได้ว่า กฤตเองก็พยายามเอาใจใส่และทำทุกวิถีทางให้วินได้เปิดโอกาสยอมรับตัวเองเช่นกัน ยกตัวอย่างตอนที่กฤตเจอวินในบาร์แล้วถามถึงแฟนที่เลิกกัน กฤตถามว่ารักแฟนเก่าที่เลิกกันไหม คำถามนี้เล่นเอาวินบ่ายเบี่ยงที่จะตอบและรู้สึกเหมือนถูกคุกคาม กฤตถามวินว่ารู้สึกเบื่อบ้างไหมที่มา (หาผู้หญิงใน) บาร์แบบนี้ วินคล้าย ๆ จะเริ่มเห็นตัวเองก็ตอบว่า ‘เบื่อ..แต่ก็โอ.เค.’ หรือตอนที่กฤตไปหาวินที่ห้องแล้วพบว่า วินนอนกับหญิงบริการ จึงถามว่าทำตามใจอยากแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง วินไม่ได้ตอบอะไรได้แต่ยืนนิ่ง ๆ เท่านี้เราก็เห็นแล้วว่า ในที่สุดวินก็ไม่สามารถทะลุกำแพงอคติในความเป็นเกย์ของตนเองออกมาได้ อีกมุมหนึ่งเราจะสังเกตเห็นว่ากฤตรู้อยู่ตลอดเวลาว่าวินเป็น ‘ผู้ชายที่ชอบผู้ชาย’ และเฝ้าหวังถึงการยอมรับตัวเองของวินตลอดมา รวมทั้งเฝ้ารอการยอมรับความรักที่เขามีให้กับวินด้วยแต่ในที่สุดก็ไร้ผล
อย่างน้อย ‘ตามสายน้ำ’ ก็พยายามโต้ตอบกับสังคมที่ยังมีวาทกรรมเรื่อง ‘รักของเกย์ไม่ยั่งยืน’ โดยอาศัยปรัชญาทางพุทธมาเชื่อมโยงตีความนำเสนออีกแง่มุมหนึ่ง แต่อีกมุมหนึ่งเราจะเห็นว่าหนังก็มีการตั้งคำถามอยู่บ้างเหมือนกันว่า ภายใต้รักของเกย์ที่ไม่ยั่งยืนนั้นเพราะอะไร ? เพราะเกย์ไม่สามารถยอมรับตัวเองใช่หรือไม่ ? แล้วมีอะไรทำให้เกย์ไม่สามารถยอมรับตัวเองได้ ? ใช่หรือไม่ว่าสังคมที่เป็นโฮโมโฟเบียเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้รักของเกย์ไม่ยั่งยืน ?
การนำเอาปรัชญาทางพุทธมาเชื่อมโยงกับความเป็นเกย์ในหนังสั้นเรื่องนี้ นับว่าน่าสนใจไม่น้อย เพราะต้องเอาธีม (Theme) สองธีมมาผสมผสานกันระหว่างปรัชญาพุทธกับความรักของเกย์ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะการนำสองส่วนนี้มานำเสนอให้เกิดความสมดุลย์ และร่วมสมัยซึ่งหนังเรื่องนี้สอบผ่านอย่างน่าชื่นชม ทั้งมุมกล้องที่พยายามตามไปเก็บภาพสถานที่และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ในเมืองไทยมารวมเข้าไว้ในหนังเรื่องนี้ ฉากเลิฟซีนระหว่างผู้ชายกับผู้ชายที่คนทำหนังไทยหลายคน ยังคงปฏิเสธไม่กล้าทำออกมาด้วยเหตุผลร้อยแปดพันประการ
บางทีเราอาจจะเข้าใจเกย์ ยอมรับความรักของเกย์พร้อมกับบรรลุธรรมไปด้วย ภายหลังดูหนังเกย์พุทธเรื่องนี้จบลง..
เสขิยธรรม ฉบับที่ ๖๔
เมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๘
เมื่อผู้หญิงถูกข่มขืนในเมืองพุทธ
พระชาย วรธมฺโม - [ 19 ธ.ค. 46, 18:09 น. ]
เวลาที่เรา เปิดดูหนังสือพิมพ์ตอนเช้า ๆ ภายในหนึ่งเดือน อย่างน้อยที่สุดข่าวที่เราต้องพบเจออย่างไม่ต้องสงสัยเลย ก็คือ ข่าวการข่มขืนกระทำชำเรา ผู้หญิงหลาย ๆ คน เมื่อเจอข่าวลักษณะนี้บ่อย ๆ เข้าอาจจะรู้สึกว่ากลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาเช่นเดียวกับข่าวอาชญากรรมอื่น ๆ แต่การที่มีข่าว การข่มขืน กระทำชำเราผู้หญิงเดือนละหนึ่งครั้งก็ไม่ได้ แปลว่า มีการข่มขืนผู้หญิงเดือนละหนึ่งคนอย่างที่เข้าใจ เพราะเป็นไปได้ว่าต้องมีจำนวนผู้หญิง ที่ถูกข่มขืน มากกว่านี้ เพียงแต่ไม่ได้เกิดเป็นข่าวขึ้นเท่านั้นเอง
เรื่องราวของผู้หญิง..ที่ถูกข่มขืนคงไม่ได้มีเฉพาะ พ.ศ. 2546 นี้เท่านั้น แต่เคยมีมานานแล้วในสมัยพุทธกาล ดังเรื่องของภิกษุณีอรหันต์ นามอุบลวรรณา ผู้ถูกมาณพหนุ่มข่มขืน แต่ในที่สุดบาปกรรมก็ตามทันเมื่อเสร็จกิจจากการกระทำชำเรามาณพหนุ่มคนนั้นก็ถูกแผ่นดินสูบลงสู่อเวจีในทันทีทันใด
หากการถูกข่มขืนของผู้หญิง พ.ศ. นี้คงไม่อาจรอบาปกรรมลงโทษผู้กระทำผิดได้เหมือนสมัยก่อนเพราะยิ่งปล่อย ให้ผู้ข่มขืนลอยนวลเท่าใดความรุนแรง ต่อ ผู้หญิงก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลง ฟ้าดินก็ไม่ยอมลงโทษให้เห็นทันตาแต่กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อพบว่า ด.ญ.วัย 15 ถูกข่มขืนโดยชายในเครือญาติ 14 คน หรือเมื่อเราพบว่าวัยของหญิงที่ถูกข่มขืนเริ่มมีอายุลดน้อยลง ล่าสุด แม้อายุเพียง 7 เดือนก็ยังถูกข่มขืนกระทำชำเรา สิ่งที่ผู้หญิง พ.ศ. นี้ต้องออกมา กระทำการคือการพึ่งพาขบวนการยุติธรรม การรอให้แผ่นดินสูบผู้กระทำผิดคงจะไม่ทันการ แต่การที่ผู้หญิงจะลุกขึ้นมาเป็น โจทก์ฟ้องฝ่ายที่ข่มขืน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ราบรื่นนัก ดังกรณีของหญิงคนหนึ่งถูกข่มขืนบนรถไฟที่ซึ่งหลาย ๆ คนมักจะคิดว่าการถูกข่มขืนต้องเกิดในสถานที่เปลี่ยว ๆ ปราศจากผู้คน กรณีนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผู้หญิงมีโอกาสถูกข่มขืนได้ทุกที่ไม่เว้นแม้แต่บนรถไฟที่เต็มไปด้วยผู้คน
การต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ของหญิงคนดังกล่าว ยังต้องต่อสู้กับการบากหน้าไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นเพศชายที่ตนเพิ่งถูกกระทำชำเรามาหยก ๆ และ เป็นการเสี่ยงต่อการถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการแบล็กเมล์ เพราะการแจ้งความว่าถูกข่มขืนนั้นออกจะเป็นประเด็นที่สลับซับซ้อน เพราะเป็นเรื่องของการทำร้าย ร่างกายภายใต้อวัยวะที่ปิดมิด ซึ่งต้องอาศัยวิธีการตรวจหลักฐานที่ละเอียดซับซ้อน และไม่ค่อยมีใครกล้ามาแจ้งความลักษณะนี้ ผิดกับคดีความประเภทอื่น ๆ
นอกจากนั้นเธอ (ผู้ถูกข่มขืน) ก็ยังต้องเผชิญกับการตรวจร่างกาย หากร่างกายปราศจากรอยขีดข่วน ฟกช้ำดำเขียว ก็ยิ่งยากจะเชื่อว่าเป็นการข่มขืนจริง เพราะ เรามักจะคิดกันว่า การข่มขืนต้องมีรอยฟกช้ำดำเขียวอันเกิดจากการต่อสู้ให้เห็น ไหนเธอ (ผู้ถูกข่มขืน) จะต้อเงสี่ยงกับการเผชิญกับการปฏิบัติที่ปราศจาก ความกรุณาจากเจ้าหน้าที่อีกเล่า
นอกจากนี้ (ผู้ถูกข่มขืน) ก็ยังต้องเผชิญกับการ ..ว่าความกัน.. ในชั้นศาล ซึ่งแน่นอนว่า เรื่องราวโดยละเอียดของเหตุการณ์ต้อง ถูกนำมาสอบสวนกัน ใหม่ตั้งแต่ก่อนวันขึ้นศาลไปจนถึงวันขึ้นศาล นี่เองที่ผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ในคดีข่มขืนหลายรายต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าตนไม่ได้ถูกข่มขืนแค่ครั้งเดียวหากกระบวนการยุติธรรมกำลังข่มขืนเธออีกหนึ่งต่อ…อย่างนับครั้งไม่ได้..
การถูกข่มขืน (ทางจิตใจ) ในขั้นตอนหรือกระบวนทางกฏหมายคงไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากจะประสบนัก เพราะเรื่องราวการถูกกระทำของเธอ ที่เป็นส่วนตัวต้อง ถูกนำมาเปิดเผยในที่สาธารณะ ถึงแม้พวกเธอจะเลือกวิธีการนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ตาม เราจึงได้เห็นความสะเทือน อารมณ์บ่อยครั้งของโจทก์หลายราย เมื่อมีการว่าความกันในชั้นศาล
ความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ถูกข่มขืนที่คาดว่า จะยุติลงอย่างง่สยดายและควรได้รับความยุติธรรมเมื่อเธอออกมาเปิดเผยว่าถูกข่มขืนพร้อม ๆ ไปกับกระบวนการทาง กฏหมายที่คิดว่าไม่น่าจะก่อให้เกิดการข่มขืนทางจิตใจซ้ำสองซ้อสามก็กลับกลายเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม ..
ซ้ำร้ายเมื่อมีการวิเคราะห์ไปถึงสาเหตุของการถูกข่มขืนว่ามาจากการแต่งตัวโป๊ หรือไปไหนมาไหนคนเดียว เหล่านี้ ล้วนเป็นอคติที่สร้างความเจ็บปวด ให้กับหญิงที่ถูกข่มขืนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะโดยความเป็นจริงผู้หญิงที่ถูกข่มขืนก็ไม่ได้แต่งตัวโป๊เสมอไป การไปไหนมาไหนคนเดียวก็เป็นประเด็นที่น่าคิด เพราะกรณีของ ด.ญ. วัย 15 ถูกข่มขืนโดยเครือญาติ 14 คน หรือกรณีพ่อข่มขืนลูกก็แสดงให้เห็นแล้วว่า.. แม้ไม่ได้อยู่เพียงลำพังคนเดียว แต่อยู่บ้าน (ที่ซึ่งคิดว่าน่าจะปลอดภัยที่สุด) ก็ยังถูกข่มขืนได้ โดยคนใกล้ชิด..เป็นพ่อของตนเองแท้ ๆ
การค้นหาสาเหตุของการถูกข่มขืนโดยเอาผู้หญิงเป็นศูนย์กลางของสาเหตุบางทีก็อาจจะทำให้เราเห็นอะไรที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง แต่สิ่งที่น่าแปลก และมหัศจรรย์ไปกว่านั้น ก็คือ กฏหมายไทยเองก็เปิดโอกาสให้ชายไทยข่มขืนภรรยาตัวเองได้อย่างเต็มที่ จึงไม่น่าแปลกใจว่า เหตุใดความรุนแรงต่อ ผู้หญิง ในสังคมไทยซึ่ง เป็นสังคมพุทธจึงไม่ยอมยุติลงสักที..
ขณะที่ระดับความรุนแรง...และการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ทุกขณะ และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เช่นนี้..ในเวลาเดียวกัน ภาพ ลักษณ์ของประเทศไทยก็เป็นเมืองพุทธที่นานาประเทศต่างก็ชื่นชมอยากมาท่องเที่ยวผ่านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ออกสู่ระดับสากล ที่คนไทย หลายคนภูมิใจไปกับอัตลักษณ์อันนี้ จึงออกจะเป็นภาพที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง รวมทั้ง เป็นอะไรที่ไม่น่าภาคภูมใจเอาเสียเลย..
ข้อมูลเปรียบเทียบ*ชายจำนวน 9 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 1 คน เดลินิวส์ 1 มิ.ย. 2546*ชายจำนวน 11 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 2 คน เดลินิวส์ 9 มิ.ย. 2546*ด.ญ. วัย 1 ขวบ ถูกเด็กชายวัย 15 ปี ข่มขืน คมชัดลึก 31 ก.ค. 2546*เด็กหญิงวัย 15 ปี ถูกชายในเครือญาติ 14 คน ข่มขืน รายการที่นี่ประเทศไทย ช่อง 5 ออกอากาศ 6 ส.ค. 2546*ผู้ชาย 15 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 2 คน ไทยรัฐ 31 ส.ค. 2546*ผู้ชาย 14 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 1 คน เดลินิวส์ 19 ต.ค. 2546*ผู้ชาย 5 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 1 คน ไทยรัฐ 14 พ.ย. 2546*เด็กหญิงวัย 1 ปี ถูกผู้ชายข่มขืน คมชัดลึก 22 พ.ย. 2546*ผู้ชาย 4 คน รุมข่มขืนหญิง 1 คน เดลินิวส์ 25 พ.ย. 254
ThaiNGO
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)