วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549

เมื่อผู้หญิงถูกข่มขืนในเมืองพุทธ


พระชาย วรธมฺโม - [ 19 ธ.ค. 46, 18:09 น. ]

เวลาที่เรา เปิดดูหนังสือพิมพ์ตอนเช้า ๆ ภายในหนึ่งเดือน อย่างน้อยที่สุดข่าวที่เราต้องพบเจออย่างไม่ต้องสงสัยเลย ก็คือ ข่าวการข่มขืนกระทำชำเรา ผู้หญิงหลาย ๆ คน เมื่อเจอข่าวลักษณะนี้บ่อย ๆ เข้าอาจจะรู้สึกว่ากลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาเช่นเดียวกับข่าวอาชญากรรมอื่น ๆ แต่การที่มีข่าว การข่มขืน กระทำชำเราผู้หญิงเดือนละหนึ่งครั้งก็ไม่ได้ แปลว่า มีการข่มขืนผู้หญิงเดือนละหนึ่งคนอย่างที่เข้าใจ เพราะเป็นไปได้ว่าต้องมีจำนวนผู้หญิง ที่ถูกข่มขืน มากกว่านี้ เพียงแต่ไม่ได้เกิดเป็นข่าวขึ้นเท่านั้นเอง
เรื่องราวของผู้หญิง..ที่ถูกข่มขืนคงไม่ได้มีเฉพาะ พ.ศ. 2546 นี้เท่านั้น แต่เคยมีมานานแล้วในสมัยพุทธกาล ดังเรื่องของภิกษุณีอรหันต์ นามอุบลวรรณา ผู้ถูกมาณพหนุ่มข่มขืน แต่ในที่สุดบาปกรรมก็ตามทันเมื่อเสร็จกิจจากการกระทำชำเรามาณพหนุ่มคนนั้นก็ถูกแผ่นดินสูบลงสู่อเวจีในทันทีทันใด
หากการถูกข่มขืนของผู้หญิง พ.ศ. นี้คงไม่อาจรอบาปกรรมลงโทษผู้กระทำผิดได้เหมือนสมัยก่อนเพราะยิ่งปล่อย ให้ผู้ข่มขืนลอยนวลเท่าใดความรุนแรง ต่อ ผู้หญิงก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลง ฟ้าดินก็ไม่ยอมลงโทษให้เห็นทันตาแต่กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อพบว่า ด.ญ.วัย 15 ถูกข่มขืนโดยชายในเครือญาติ 14 คน หรือเมื่อเราพบว่าวัยของหญิงที่ถูกข่มขืนเริ่มมีอายุลดน้อยลง ล่าสุด แม้อายุเพียง 7 เดือนก็ยังถูกข่มขืนกระทำชำเรา สิ่งที่ผู้หญิง พ.ศ. นี้ต้องออกมา กระทำการคือการพึ่งพาขบวนการยุติธรรม การรอให้แผ่นดินสูบผู้กระทำผิดคงจะไม่ทันการ แต่การที่ผู้หญิงจะลุกขึ้นมาเป็น โจทก์ฟ้องฝ่ายที่ข่มขืน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ราบรื่นนัก ดังกรณีของหญิงคนหนึ่งถูกข่มขืนบนรถไฟที่ซึ่งหลาย ๆ คนมักจะคิดว่าการถูกข่มขืนต้องเกิดในสถานที่เปลี่ยว ๆ ปราศจากผู้คน กรณีนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผู้หญิงมีโอกาสถูกข่มขืนได้ทุกที่ไม่เว้นแม้แต่บนรถไฟที่เต็มไปด้วยผู้คน
การต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ของหญิงคนดังกล่าว ยังต้องต่อสู้กับการบากหน้าไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นเพศชายที่ตนเพิ่งถูกกระทำชำเรามาหยก ๆ และ เป็นการเสี่ยงต่อการถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการแบล็กเมล์ เพราะการแจ้งความว่าถูกข่มขืนนั้นออกจะเป็นประเด็นที่สลับซับซ้อน เพราะเป็นเรื่องของการทำร้าย ร่างกายภายใต้อวัยวะที่ปิดมิด ซึ่งต้องอาศัยวิธีการตรวจหลักฐานที่ละเอียดซับซ้อน และไม่ค่อยมีใครกล้ามาแจ้งความลักษณะนี้ ผิดกับคดีความประเภทอื่น ๆ
นอกจากนั้นเธอ (ผู้ถูกข่มขืน) ก็ยังต้องเผชิญกับการตรวจร่างกาย หากร่างกายปราศจากรอยขีดข่วน ฟกช้ำดำเขียว ก็ยิ่งยากจะเชื่อว่าเป็นการข่มขืนจริง เพราะ เรามักจะคิดกันว่า การข่มขืนต้องมีรอยฟกช้ำดำเขียวอันเกิดจากการต่อสู้ให้เห็น ไหนเธอ (ผู้ถูกข่มขืน) จะต้อเงสี่ยงกับการเผชิญกับการปฏิบัติที่ปราศจาก ความกรุณาจากเจ้าหน้าที่อีกเล่า
นอกจากนี้ (ผู้ถูกข่มขืน) ก็ยังต้องเผชิญกับการ ..ว่าความกัน.. ในชั้นศาล ซึ่งแน่นอนว่า เรื่องราวโดยละเอียดของเหตุการณ์ต้อง ถูกนำมาสอบสวนกัน ใหม่ตั้งแต่ก่อนวันขึ้นศาลไปจนถึงวันขึ้นศาล นี่เองที่ผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ในคดีข่มขืนหลายรายต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าตนไม่ได้ถูกข่มขืนแค่ครั้งเดียวหากกระบวนการยุติธรรมกำลังข่มขืนเธออีกหนึ่งต่อ…อย่างนับครั้งไม่ได้..
การถูกข่มขืน (ทางจิตใจ) ในขั้นตอนหรือกระบวนทางกฏหมายคงไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากจะประสบนัก เพราะเรื่องราวการถูกกระทำของเธอ ที่เป็นส่วนตัวต้อง ถูกนำมาเปิดเผยในที่สาธารณะ ถึงแม้พวกเธอจะเลือกวิธีการนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ตาม เราจึงได้เห็นความสะเทือน อารมณ์บ่อยครั้งของโจทก์หลายราย เมื่อมีการว่าความกันในชั้นศาล
ความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ถูกข่มขืนที่คาดว่า จะยุติลงอย่างง่สยดายและควรได้รับความยุติธรรมเมื่อเธอออกมาเปิดเผยว่าถูกข่มขืนพร้อม ๆ ไปกับกระบวนการทาง กฏหมายที่คิดว่าไม่น่าจะก่อให้เกิดการข่มขืนทางจิตใจซ้ำสองซ้อสามก็กลับกลายเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม ..
ซ้ำร้ายเมื่อมีการวิเคราะห์ไปถึงสาเหตุของการถูกข่มขืนว่ามาจากการแต่งตัวโป๊ หรือไปไหนมาไหนคนเดียว เหล่านี้ ล้วนเป็นอคติที่สร้างความเจ็บปวด ให้กับหญิงที่ถูกข่มขืนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะโดยความเป็นจริงผู้หญิงที่ถูกข่มขืนก็ไม่ได้แต่งตัวโป๊เสมอไป การไปไหนมาไหนคนเดียวก็เป็นประเด็นที่น่าคิด เพราะกรณีของ ด.ญ. วัย 15 ถูกข่มขืนโดยเครือญาติ 14 คน หรือกรณีพ่อข่มขืนลูกก็แสดงให้เห็นแล้วว่า.. แม้ไม่ได้อยู่เพียงลำพังคนเดียว แต่อยู่บ้าน (ที่ซึ่งคิดว่าน่าจะปลอดภัยที่สุด) ก็ยังถูกข่มขืนได้ โดยคนใกล้ชิด..เป็นพ่อของตนเองแท้ ๆ
การค้นหาสาเหตุของการถูกข่มขืนโดยเอาผู้หญิงเป็นศูนย์กลางของสาเหตุบางทีก็อาจจะทำให้เราเห็นอะไรที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง แต่สิ่งที่น่าแปลก และมหัศจรรย์ไปกว่านั้น ก็คือ กฏหมายไทยเองก็เปิดโอกาสให้ชายไทยข่มขืนภรรยาตัวเองได้อย่างเต็มที่ จึงไม่น่าแปลกใจว่า เหตุใดความรุนแรงต่อ ผู้หญิง ในสังคมไทยซึ่ง เป็นสังคมพุทธจึงไม่ยอมยุติลงสักที..
ขณะที่ระดับความรุนแรง...และการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ทุกขณะ และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เช่นนี้..ในเวลาเดียวกัน ภาพ ลักษณ์ของประเทศไทยก็เป็นเมืองพุทธที่นานาประเทศต่างก็ชื่นชมอยากมาท่องเที่ยวผ่านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ออกสู่ระดับสากล ที่คนไทย หลายคนภูมิใจไปกับอัตลักษณ์อันนี้ จึงออกจะเป็นภาพที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง รวมทั้ง เป็นอะไรที่ไม่น่าภาคภูมใจเอาเสียเลย..

ข้อมูลเปรียบเทียบ*ชายจำนวน 9 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 1 คน เดลินิวส์ 1 มิ.ย. 2546*ชายจำนวน 11 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 2 คน เดลินิวส์ 9 มิ.ย. 2546*ด.ญ. วัย 1 ขวบ ถูกเด็กชายวัย 15 ปี ข่มขืน คมชัดลึก 31 ก.ค. 2546*เด็กหญิงวัย 15 ปี ถูกชายในเครือญาติ 14 คน ข่มขืน รายการที่นี่ประเทศไทย ช่อง 5 ออกอากาศ 6 ส.ค. 2546*ผู้ชาย 15 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 2 คน ไทยรัฐ 31 ส.ค. 2546*ผู้ชาย 14 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 1 คน เดลินิวส์ 19 ต.ค. 2546*ผู้ชาย 5 คน รุมข่มขืนหญิงสาว 1 คน ไทยรัฐ 14 พ.ย. 2546*เด็กหญิงวัย 1 ปี ถูกผู้ชายข่มขืน คมชัดลึก 22 พ.ย. 2546*ผู้ชาย 4 คน รุมข่มขืนหญิง 1 คน เดลินิวส์ 25 พ.ย. 254



ThaiNGO

ไม่มีความคิดเห็น: